fbpx
Artwork by: YMI
TRANSLATOR: พันทนิน พัวบัณฑิตกุล
EDITOR: ใจทิพย์ อยู่มั่น

คำบรรยาย : การเป็นคนที่มีสติปัญญาในสายพระเนตรของพระเจ้าคืออะไร?

บางครั้ง เรามีแนวโน้มที่จะคิดเกี่ยวกับการทรงเรียกของพระเจ้าในชีวิตของเรามากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น พระเจ้าทรงกำลังเรียกฉันให้รับใช้ในงาน สถานที่ หรือกับพี่น้องคนนี้หรือเปล่า? เส้นทางที่ฉันกำลังเดินไปนี้นำฉันไปสู่เส้นทางของพระเจ้าจัดเตรียมไว้หรือไม่?

แม้ว่าเรื่องดังกล่าวจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณา แต่ก็มีวิธีอื่นอีกมากมายที่เราจะดำเนินชีวิตโดยพึ่งพาพระสติปัญญาของพระเจ้า เมื่อคิดถึงความหมายของ “สติปัญญาแบบพระเจ้า”  เราต้องพิจารณาสติปัญญาแบบโลกที่เราได้รับและวิธีการที่เราสื่อออกไป สติปัญญาของโลกก็ไม่ได้เลวร้ายไปซะทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่แล้วสติปัญญาแบบโลกมีแนวโน้มที่จะเข้าข้างตัวเอง เช่น ฐานะของเรา สถานะในชีวิต สิ่งที่เราจะทำได้เพื่อพัฒนาตัวเอง

ในทางกลับกัน สติปัญญาแบบพระเจ้ามักจะย้ำเตือนเราให้มองภาพที่ใหญ่กว่าการกระทำของเราทำให้พระเจ้าพอพระทัยหรือไม่และการกระทำเหล่านั้นจะเป็นพระพรกับคนอื่นและช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ของเรากับพวกเขาหรือไม่?

และนี่คือ 5 สัญญา ที่แสดงว่าเรากำลังดำเนินชีวิตโดยพึ่งพาพระสติปัญญาของพระเจ้า

1. เราสัตย์ซื่อในสิ่งที่เราพูดและทำ

อินเทอร์เน็ตมักจะมีมีมต่างๆ ที่เกี่ยวกับวิธีที่เราจะพูดในสิ่งที่เราจะไม่ทำ อย่างเช่น “ฉันอาจจะมา” หรือ “ฉันจะพยายาม” ซึ่งจริงๆ แล้วมันหมายถึง “ฉันไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้ในตอนนี้ แต่ฉันมีแนวโน้มที่จะไม่มา” หรือ “เราควรทำสิ่งนี้ในภายหลังดีไหม!” หมายถึง “เราอาจจะไม่ทำสิ่งนี้อีกเลย”  

เป็นที่น่าขันเพราะเป็นเรื่องที่เข้าใจกันได้และเราเองก็รู้สึกผิดด้วยที่เวลาทำแบบนั้น แต่การพูดที่ไร้ความหมายหรือไม่ได้มีแผนที่จะทำ การสนทนานั้นก็มักจะคุยกันไม่รู้เรื่องและคนๆ นั้นก็จะดูไม่น่าไว้วางใจด้วย ซึ่งต่างจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งและมีความหมาย แค่เพียงเรานำคำพูดของคนอื่นมาให้ความหมายบางสิ่ง และเราก็เติมเต็มคำพูดของพวกเขา คำของเราก็มีผลต่อคนอื่นเช่นเดียวกัน

การซื่อสัตย์ในสิ่งที่พูดและทำนั้น แสดงให้เห็นว่าเราดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อที่เต็มล้นและไม่ตาย (ยากอบ 2:14-16) และมากกว่านั้นคือเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ (สดุดี 15:1-2, 4) การกระทำเช่นนั้นทำให้เรารักพระเจ้าและผู้อื่นได้อย่างแท้จริง

แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถถอนคำพูดเมื่อเรารู้สึกไม่มั่นใจในสิ่งที่เราพูดไปหรือรู้สึกผิดกับตัวเองเมื่อต้องถอนคำพูด ซึ่งจริงๆ แล้ว เราสามารถแก้ไขในสิ่งที่เราพูดไป เพราะ ณ เวลานั้นเราอาจจะมีความมุ่งมั่นหรืออาจจะประเมินความสามารถตัวเองไว้สูงเกินไป  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราสามารถแก้ไขได้โดยการยอมรับความผิดพลาดและทำผิดซ้ำอีก

นอกจากนี้ โปรดจำไว้ว่าความซื่อสัตย์ยังแสดงถึงความสุภาพในกรณีที่เราไม่อยากไปหรือทำอะไรบางอย่าง แต่กลัวที่จะปฏิเสธ ซึ่งในกรณีแบบนี้ เรายังคงสามารถขอบคุณพวกเขาได้สำหรับการเชิญแม้ว่าเราจะปฏิเสธก็ตาม

2. เรายอมรับด้วยความถ่อมใจเมื่อเราทำผิด

สติปัญญาแบบโลกมักสอนเราให้เราป่าวประกาศถึงความสำเร็จและเก็บซ่อนความอ่อนแอของเราไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ความผิดพลาดของเรา ไม่ว่าจะเป็นวิธีที่เรานำเสนอในโรงเรียน หรือที่ทำงาน เรามักจะมีแนวโน้มที่จะทำทุกสิ่งเพื่อแสดงสิ่งที่ดีที่สุดในส่วนที่เราทำ (ซึ่งไม่ดีเลย!) และทำให้มั่นใจว่าสิ่งที่เราไม่ทำนั้นจะไม่ถูกพบ เพราะมันจะทำให้เราอยู่ภายใต้การตรวจสอบอย่างละเอียด และทำให้ผู้คนสงสัยในความสามารถของเรา

และเมื่อเราเริ่มคิดว่า เป็นการ “ฉลาด” ที่จะปิดบังสิ่งเหล่านี้ มันก็อาจจะส่งผลให้เราไม่ต้องการและไม่อยากที่จะรับรู้เมื่อเราทำผิดพลาด ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ตัวเรานั้นยากที่จะมองตัวเองอย่างถูกต้องและไม่เปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อเป็นคนที่ดีกว่าเดิม

การลดคุณภาพของงานและความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานก็สามารถส่งผลเชิงลบต่อผู้คนรอบตัวเราได้เช่นกัน

จุดสำคัญที่สุดที่จะแสดงให้เห็นว่าเราประกอบไปด้วยสติปัญญาที่มาจากพระเจ้า คือ การที่เราสามารถยอมรับความผิดพลาดของเรา เพราะสิ่งเหล่านั้นจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง (สุภาษิต 28:13, 1 ยอห์น 1:9, ยากอบ 5: 16) เพราะในแผ่นดินของพระเจ้าไม่มีการลงโทษ (โรม 8:1) เมื่อเราสารภาพความผิดและข้อบกพร่อง เรามั่นใจได้ว่าพระองค์ทรงประทานพระคุณแก่คนที่ถ่อมลงและพระองค์จะทรงยกพวกเขาขึ้น (1 เปโตร 5:5)

สติปัญญา คือ การรู้ว่าเมื่อใดควรแสดงออกถึงความสามารถหรือพรสวรรค์และมีความมั่นใจเหมือนพระเจ้า แต่ถึงกระนั้น เมื่อถึงเวลาที่เราทำผิดพลาด เราก็ต้องยอมรับความผิดพลาดนั้นและพยายามทำสิ่งต่างๆ เพื่อปรับปรุงตัวเอง

3. เราสำแดงการให้อภัยและความเมตตา

มีเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่าเหตุใดมันจึงเป็นเรื่องที่ยากจะยอมรับเมื่อเราทำผิด คือ เราไม่ยอมที่จะให้อภัยเพื่อเริ่มต้นใหม่ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีบางคนทำผิดพลาดหรือทำบางสิ่งที่เป็นการดูหมิ่นเรา  เราครุ่นคิดและจดจำหรือไม่? เราตัดสินและตราหน้าคนอื่นเพราะความผิดพลาดของเขาหรือไม่?

บางที เราอาจจะคิดอยู่ในใจลึกๆ ว่า เรา “ทำถูกต้องแล้ว” เพราะเราไม่อยากจะโดน “หลอก” อีกครั้งจากคนที่เราคิดว่าเขา “ไม่น่าไว้ใจ” ซึ่งเราอาจจะคิด (อย่างผิดๆ) ด้วยว่า “การแสดงความผ่อนปรนต่อบางคนเมื่อพวกเขาต้องการวินัยเท่ากับเป็นการ “ให้อภัย”

แต่เมื่อเราได้รับความเมตตา ความรัก และได้สัมผัสกับประสบการณ์อันดีเยี่ยมของการรับพระคุณและโอกาสครั้งที่สอง (สามหรือสี่) จึงทำให้เรารู้ว่าการให้อภัยและการแสดงความเมตตาสามารถยกจิตวิญญาณและหนุนใจเพื่อให้พวกเขามีกำลังที่จะเดินหน้าต่อไปข้างหน้าและเติบโตขึ้น ยิ่งเราชื่นชมและซาบซึ้งในพระคุณและการให้อภัย จะเป็นไปได้ไหมที่เราจะส่งต่อประสบการณ์เหล่านี้ไปให้กับผู้อื่น?

เป็นการดีที่เราเลือกที่จะให้อภัย เพราะเรารู้ว่าเราได้รับการให้อภัยมากเพียงไร จากพระเจ้าผู้ทรงสัพพัญญูและผู้ทรงทราบทุกสิ่ง (มัทธิว 6:14-16, ลูกา 7:47) แม้ว่าการให้อภัยจะไม่สามารถลบล้างอดีต หรือนำความใกล้ชิดและความไว้วางใจกลับคืนมาในทันที แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องรักษาใจของเราให้ปราศจากความไม่พอใจ และพร้อมเสมอที่จะเปิดกว้างต่อการยอมรับและพระคุณของพระเจ้า  

4. เราเต็มใจที่จะรับฟังและแสวงหาคำแนะนำ

อะไรที่ทำให้การรับฟังหรือการขอคำแนะนำเป็นเรื่องที่ยาก? สำหรับเราอาจจะเป็นเพราะว่าเราถูกรายล้อมด้วยผู้สูงอายุซึ่งคอยให้คำแนะนำแบบไม่หยุดหย่อน และบางครั้งก็ดูมากจนเกินไปด้วย หรืออาจเพราะว่าเราเคยได้รับคำแนะนำที่เรารับไม่ได้มาก่อนซึ่งทำให้เราระวังที่จะรับคำแนะนำหรือบางทีเราเชื่อในอะไรบางอย่างแบบสุดใจและเราก็ไม่อยากที่จะได้ยินคำคัดค้านใดๆ เลย แม้ว่าคำคัดค้านนั้นจะมีเหตุมีผลและน่าคิด

ถ้าอุปสรรคของคุณ คือ คุณได้รับ “คำแนะนำ” ที่มากเกินไปมาตลอดหรือได้รับคำแนะนำที่ไม่ดีมา จำไว้ว่าการฟังคำแนะนำนั้นไม่ได้หมายถึงการทำทุกอย่างตามที่คนอื่นบอกตลอดเวลา เพราะการเปิดรับคำแนะนำ คือ การเปิดรับเหตุผล (ยากอบ 3:17) และเข้าใจว่าคนอื่นก็สามารถมีมุมมองที่แตกต่างจากเรา ในขณะที่ เราอาจจะไม่ทำตามคำแนะนำทั้งหมดที่เราได้รับ เป็นไปได้ว่า การฟังพวกเขาสามารถช่วยเราคิดอย่างพินิจพิเคราะห์ และได้รับการบอกได้ดีขึ้นในกระบวนการการตัดสินใจ

เมื่อเราต้องตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญและเรามีอคติหรืออาจจะได้รับข้อมูลมามากเกินไปและไม่สามารถคิดได้อย่างถูกต้อง มันคงจะเป็นสิ่งที่ดีหากเราจะชวนบางคนมาช่วยเราประเมินสถานการณ์ของเรา เพื่อว่าเราจะสามารถทำสิ่งที่ถูกต้องได้ พระคัมภีร์เตือนเราว่า เราจะอยู่ในอันตรายหากไม่มีที่ปรึกษาและคิดเองว่าตัวเองถูกต้องแล้ว (สุภาษิต 11:14, 12:15)

ข้อพระคัมภีร์ที่คุ้นหู คือ พระธรรมสุภาษิต 3:5 ซึ่งบอกเราว่า “อย่าพึ่งพาความรอบรู้ของตนเอง” จงยอมรับรู้พระองค์ในทุกทางของเจ้ารวมถึงการมองหาที่ปรึกษาผู้เปี่ยมด้วยสติปัญญาจากคนที่พระองค์ทรงวางไว้ในชีวิตของเราเพื่อจะแนะนำเรา (สุภาษิต 13:20, 15:22, 27:17)

5. เราให้ความสำคัญกับสันติสุขในความสัมพันธ์

บ่อยครั้งที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นในความสัมพันธ์เพราะเราใส่ใจกับความถูกต้องมากจนเกินไปและมักจะคิดว่าตัวเรานั้นรู้ดีมากกว่าผู้อื่น แต่ในพระธรรมยากอบ (3:17-18) ได้นำเสนอมุมมองของสติปัญญาที่แตกต่างออกไป หนึ่งในนั้นคือเราไม่ควรมุ่งแต่แสวงหาความถูกต้องและการได้รับการเคารพให้เกียรติจากผู้อื่น แต่ควรจะมีทัศนคติที่อ่อนสุภาพและถ่อมตัวซึ่งรวมถึงตัวเราเองก็ด้วย เพื่อให้พวกเขามีท่าทีที่ถูกต้องกับพระเจ้าและผู้อื่น

การจัดลำดับความสงบสุขในความสัมพันธ์ไม่ได้หมายถึงการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งใดๆ ที่ซ่อนอยู่และไม่ได้หมายถึงการซ่อนสิ่งต่างๆ ไว้ใต้พรม แต่หมายถึงการเชื่อว่าการแสดงความรักให้กับอีกฝ่ายนั้นมีความสำคัญมากกว่าการพิสูจน์ประเด็นต่างๆ ของเราเอง ซึ่งอาจจะดูเหมือนเป็นการไม่พูดอะไรในช่วงเวลาที่กำลังอารมณ์ไม่ดี (เช่น เมื่อกำลังหัวเสียและโกรธ เป็นต้น) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเรารู้ว่ามันอาจจะไม่ได้ช่วยอะไรและอาจจะเป็นการทำให้เหตุการณ์บานปลาย หรืออาจจะเป็นการเลือกที่จะเปิดใจคุยกันกับคนอื่นถึงสิ่งที่กวนใจเรา แทนที่จะเป็นการนินทาเกี่ยวกับคนนั้นหรือเงียบไปจนทำให้เกืดความขุ่นเคืองใจ

เป้าหมายนั้นไม่ใช่เพื่อพิสูจน์ว่าประเด็นนั้นๆ ถูกต้องไหม แต่เป็นการชื่นชมกับสันติสุขที่มาจากการมองข้ามความแตกต่างเพื่อที่จะรักได้ดีและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

สำหรับชีวิตของคริสเตียนนั้น การดำเนินชีวิตด้วยสติปัญญาของพระเจ้า คือ สิ่งที่เราไม่สามารถทำให้สำเร็จได้โดยกำลังของเราเอง แต่โดยพระคุณของพระเจ้าเท่านั้น

และขอให้เรามั่นใจว่าสติปัญญาของพระเจ้าไม่ใช่สิ่งที่ค้นหาไม่ได้ เพราะสติปัญญาของพระเจ้านั้นถูกเปิดเผยอย่างชัดเจนในพระคำของพระองค์ นี่หมายความว่าเราไม่จำเป็นต้องกังวลว่าเราจะมีชีวิตประกอบไปด้วยสติปัญญาแบบพระเจ้าได้อย่างไร แต่ให้เราเชื่อวางใจว่าพระองค์จะรวบรวมเราให้ทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างดีเพื่อพระสิริของพระองค์เพราะเราดำเนินชีวิตด้วยการเชื่อฟังพระองค์

YOU MAY ALSO LIKE

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าฉันไม่อยากอ่านพระคัมภีร์หรืออธิษฐาน

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าฉันไม่อยากอ่านพระคัมภีร์หรืออธิษฐาน

WRITER: ฉีฉี ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก YMITRANSLATOR: นิศารัตน์ มั่นเกตุEDITOR: กรชวัล เพชรเลิศอนันต์ มันเป็นอีกหนึ่งวันที่ยาวนาน ในระหว่างที่ดูแลพวกลูกๆ  สะสางงานต่างๆ  ก็แทบจะไม่มีเวลาให้ได้พักหายใจเลย เมื่อลูกๆ...

ฉันมีส่วนรับผิดชอบในความรอดของเพื่อนหรือไม่?

ฉันมีส่วนรับผิดชอบในความรอดของเพื่อนหรือไม่?

WRITER: เมดาลีน คาลู ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก YMITRANSLATOR: PinkEDITOR: Thitikarn Nithiuthai (Mesy) ฉันยังจำช่วงเวลาที่ฉันเริ่มต้นความสัมพันธ์กับพระเยซูได้ ราวกับว่าเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ ทุกอย่างเริ่มต้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ในช่วงที่อากาศหนาวเย็นของเดือนมกราคม ฮันนาห์...

เสียงที่ดังพอ

เสียงที่ดังพอ

WRITER: GRACESaoriEDITOR: Mustard Seed Team เคยไหม? ที่ในบางครั้งเสียงของใครบางคนก็ดังกว่าเสียงของตัวเอง เสียงนี้มักดังเร้าอยู่ภายในใจ บ่อยครั้งในเมื่อเราอยู่ในช่วงที่คิดไม่ตก ฟุ้งซ่าน หาทางออกไม่เจอหลายๆ สิ่ง แต่จะมีเสียงๆ นี้แหละ ที่กลับดังขึ้นมาหัวใจ...

Share This