fbpx
WRITER: มาริสสา ลัค ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก YMI
TRANSLATOR: Mustard Seed Team
EDITOR: Mustard Seed Team

ในช่วงหลายปีนี้ การใช้โซเชียลมีเดียได้เปลี่ยนฉันให้เป็นคริสเตียนประเภท “เก็บทุกอย่างไว้กับตัวเอง” มีหลายโอกาสที่ฉันกลัวการโพสต์สิ่งต่างๆ และกลัวการถูกรังเกียจ “ถูกแบนหรือถูกทอดทิ้ง” มันค่อนข้างขัดแย้งกับสิ่งที่คนส่วนใหญ่เชื่อหรือรู้สึก

ครั้งหนึ่งเมื่อคนรู้จักได้โพสต์ว่า มันงี่เง่าแค่ไหนที่เปิดอ่านพระคัมภีร์ หนังสือที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่ไม่ถูกต้อง ฉันคิดและอยากจะแนะนำให้เพื่อนคนนั้นลองตั้งใจศึกษาเบื้องหลังและประวัติศาสตร์ของพระคัมภีร์ให้ดีๆ ซึ่งมันอาจจะให้มุมมองที่แตกต่างออกไป แต่ฉันก็เปลี่ยนใจเพราะกลัวคอมเมนต์แย่ๆ ที่จะได้รับกลับมาจากผู้คน

ขณะที่อินเทอร์เน็ตได้มอบความสามารถในการสื่อสารกับคนที่เรารักและเพิ่มพูนความรู้ต่างๆ จากงานวิจัย ฉันยังพบว่ามันทำให้ฉันขี้ขลาดขึ้น ในเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อของตัวเองและขี้กังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม สุดท้ายก็จบลงที่ฉันพยายามหลีกเลี่ยงการพูดเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น อัตลักษณ์ที่มีพระคริสต์เป็นศูนย์กลาง และบริบทการแต่งงานในพระคัมภีร์ผ่านอินสตาแกรมของฉัน เพียงเพราะว่าฉันไม่อยากถูกตราหน้าว่าเป็นพวกคนใจแคบ หรือไม่ชอบพวกรักร่วมเพศ และจากสิ่งที่กล่าวมาทำให้ฉันเริ่มตระหนักถึงสิ่งที่ฉันกำลังต่อสู้ และเตือนฉันให้ลองคิดทบทวนว่าจุดยืนของฉันในฐานะผู้เชื่อ ว่าการยืนหยัดทางการเมืองและประเด็นทางสังคมต่างๆ ของฉันอยู่ไหน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ความเชื่อของฉันลึกซึ้งขึ้น

ขณะที่ปฏิสัมพันธ์ของสื่อโซเชียลนั้นเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ และพวกเราหลายคนมักจะใช้สื่อโซเชียลสำหรับการสื่อสาร ฉันเชื่อว่าพวกเรามีโอกาสมากขึ้นที่จะแบ่งปันความเชื่อของเราในโลกออนไลน์มากกว่าโลกออฟไลน์

ในฐานะคริสเตียน พวกเราควรตั้งใจมองโลกผ่านมุมมองของพระคัมภีร์ เพื่อที่เราจะได้เข้าใจความจริงและความเป็นจริงของชีวิตอย่างที่พระเจ้าพระผู้สร้างตั้งใจให้มันเป็น และในฐานะนักศาสนศาสตร์ เดวิด ด็อคเคอร์รี่ (David Dockery) ได้กล่าวว่า “โลกทัศน์ของคริสเตียนไม่ได้เป็นเพียงการแสดงออกถึงความเชื่อของเรา ไม่ใช่แค่เพียงทฤษฎีเท่านั้น แต่มันคือวิถีชีวิตที่ใช้ได้กับทุกด้านของชีวิต” พวกเราสำนึกและยอมรับอำนาจอธิปไตยของพระเจ้า ซึ่งทำให้เราอยู่ในจุดที่ต่างจากผู้คนในโลกนี้อย่างสิ้นเชิง

และดังนั้น เกี่ยวกับการแสดงออกถึงตัวตนของเราอย่างสาวกผู้ประพฤติตามถ้อยคำของพระเจ้า ในพระธรรม 2 ทิโมธี 4:2 กล่าวว่า “จงประกาศพระวจนะ จงทำอย่างขะมักเขม้นทั้งในขณะที่คนสนใจและไม่สนใจ จงชักชวน ตักเตือน และหนุนใจ ด้วยความอดทนและด้วยการสั่งสอนอย่างเต็มที่” และข้อพระคำถัดจากนี้ยังบรรยายถึงการที่ผู้คนจะต่อต้านหลักคำสอนและเลือกฟังเฉพาะสิ่งที่พวกเขาอยากได้ยิน แต่ถึงอย่างนั้นเปาโลได้แนะนำทิโมธี (และถึงพวกเราด้วย) ว่านี่คือหน้าที่ของพวกเราที่จะต้องบากบั่น เพียรพยายาม ในการทรงเรียกให้ประกาศความจริงของพระเจ้า

พระธรรมในตอนนี้แสดงให้เราเห็นสองสิ่ง ประการแรก พื้นฐานของความคิดเห็นของเราไม่ควรจะเกิดจากเหตุผลหรือความรู้สึกส่วนตัวของเราเท่านั้น แต่ควรตั้งอยู่บนพระคำของพระเจ้า ประการที่สอง พวกเราควรจะอดทนและอ่อนโยนเมื่ออยู่ท่ามกลางสถานการณ์ที่เราหวังว่าจะนำมุมมองในพระคัมภีร์มาใช้

เมื่อใคร่ครวญในพระธรรม 2 ทิโมธี 4:2 ได้ช่วยฉันให้ช้าลงในการตอบสนองต่อผู้ไม่เชื่อที่ปฏิเสธและในบางครั้งก็เยาะเย้ยความเชื่อของคริสเตียน มันช่วยให้ฉันมีความเข้าใจเกี่ยวกับทัศนคติต่อเรื่องการถูกปฏิเสธ และเรียนรู้ที่จะยังคงรัก อธิษฐานเผื่อ และเริ่มบทสนทนาเกี่ยวกับความเชื่อกับผู้ไม่เชื่อแทนที่จะยอมแพ้

ฉันได้เรียนรู้ว่าการแบ่งปันนั้นไม่ได้ถูกจำกัดแค่เกี่ยวกับเรื่องความเชื่อของคริสเตียนทั่วไป แต่ยังรวมไปถึงการแบ่งปันชีวิตของฉันด้วย เราไม่สามารถสื่อสารพระกิตติคุณอย่างมีประสิทธิภาพหากการกระทำของเราไม่สัมพันธ์กับสิ่งที่เราพูด และนี่ทำให้ฉันตระหนักถึงการเป็นพยานผ่านวิธีการใช้ชีวิต และการอดทนต่อผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการฟัง

ในประสบการณ์ที่ฉันมีกับผู้ไม่เชื่อ

ฉันสังเกตว่า ฉันสามารถทำได้ดีในฐานะผู้ฟังและการถามคำถามมากกว่ามุ่งมั่นที่จะพยายามเปลี่ยนความคิดของผู้อื่น

พวกเราทุกคนอยากจะถูกมองเห็นและมีคุณค่าอย่างที่พวกเราเป็น และเรารู้ว่าความไว้วางใจสำคัญแค่ไหนในการทำให้เรายอมเปิดรับสิ่งที่คนอื่นพูด ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จะชวนนำเราถึงวิธีที่เราจะแบ่งปัน

นอกเหนือจากการตอบสนองต่อประเด็นความขัดแย้ง อีกทางหนึ่งฉันพยายามที่จะแบ่งปันความเชื่อของฉันกับเพื่อนผู้ไม่เชื่อในโลกออนไลน์คือ ส่งข้อความถึงพวกเขาว่าฉันอธิษฐานเผื่อพวกเขา ถ้าฉันรู้ว่าพวกเขากำลังเผชิญสถานการณ์ที่ยากลำบาก หลายครั้ง เพื่อนๆ ยอมรับข้อความเหล่านี้ด้วยใจที่เปิดออกและชื่นชมพร้อมกล่าวว่า “ขอบคุณ”

อีกวิธีหนึ่ง คือการฝึกฝนการแยกแยะและตัดสินสิ่งต่างๆ ที่ฉันโพสต์ โดยเฉพาะการงดเว้นในการพูดในประเด็นที่ขัดแย้งเพียงเพื่อจะแสดงจุดยืน พวกเรามักจะแบ่งปันหลายสิ่งหลายอย่างของชีวิตเราบนโซเชียลมีเดีย ดังนั้น ทุกครั้งที่เราโพสต์บางสิ่งบางอย่าง ให้พวกเราลองถามตัวเองก่อนว่า “มันมีประโยชน์ไหม? มันสร้างสรรค์ไหม? มันเป็นพระพรกับผู้อื่นไหม? มันเป็นสิ่งที่น่ารักไหม? มันได้สะท้อนถึงความจริงไหม?”

ฉันยังคงใคร่ครวญอย่างต่อเนื่องถึงบทบาทและความรับผิดชอบของฉันในฐานะคริสเตียนในโลกออนไลน์ ฉันพยายามที่จะยึดกับห้าสิ่งนี้ที่ช่วยให้ฉันแบ่งปันความเชื่ออย่างต่อเนื่องโดยไม่หันหลังกลับเพราะความกลัว

  • เป็นผู้ฟังที่ดี (ยากอบ 1:19)
  • จำไว้ว่าพระกิตติคุณเป็นสิ่งที่ถูกต่อต้าน (ยอห์น 15:18-27)
  • รู้พระคำพระเจ้าเป็นอย่างดี (1 เปโตร 3:15)
  • เรียนรู้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาไม่ใช่ความรับผิดชอบของเรา (ยอห์น 6:44)
  • เชื่อมั่นว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์กำลังทำการอยู่ (1 โครินธิ์ 2:4-5)

การได้เห็นว่าพระเจ้าทรงประทานการหนุนใจน้ำใจในข้อพระคำเหล่านี้ พวกเราสามารถพักสงบโดยการรู้ว่าพระเจ้าทรงเป็นห่วงเราในทุกๆ ความท้าทายที่เราเผชิญ และพระองค์ทรงอยู่กับเราในทุกๆ ก้าวของเส้นทาง

YOU MAY ALSO LIKE

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าฉันไม่อยากอ่านพระคัมภีร์หรืออธิษฐาน

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าฉันไม่อยากอ่านพระคัมภีร์หรืออธิษฐาน

WRITER: ฉีฉี ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก YMITRANSLATOR: นิศารัตน์ มั่นเกตุEDITOR: กรชวัล เพชรเลิศอนันต์ มันเป็นอีกหนึ่งวันที่ยาวนาน ในระหว่างที่ดูแลพวกลูกๆ  สะสางงานต่างๆ  ก็แทบจะไม่มีเวลาให้ได้พักหายใจเลย เมื่อลูกๆ...

ฉันมีส่วนรับผิดชอบในความรอดของเพื่อนหรือไม่?

ฉันมีส่วนรับผิดชอบในความรอดของเพื่อนหรือไม่?

WRITER: เมดาลีน คาลู ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก YMITRANSLATOR: PinkEDITOR: Thitikarn Nithiuthai (Mesy) ฉันยังจำช่วงเวลาที่ฉันเริ่มต้นความสัมพันธ์กับพระเยซูได้ ราวกับว่าเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ ทุกอย่างเริ่มต้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ในช่วงที่อากาศหนาวเย็นของเดือนมกราคม ฮันนาห์...

เสียงที่ดังพอ

เสียงที่ดังพอ

WRITER: GRACESaoriEDITOR: Mustard Seed Team เคยไหม? ที่ในบางครั้งเสียงของใครบางคนก็ดังกว่าเสียงของตัวเอง เสียงนี้มักดังเร้าอยู่ภายในใจ บ่อยครั้งในเมื่อเราอยู่ในช่วงที่คิดไม่ตก ฟุ้งซ่าน หาทางออกไม่เจอหลายๆ สิ่ง แต่จะมีเสียงๆ นี้แหละ ที่กลับดังขึ้นมาหัวใจ...

Share This