fbpx
WRITER: เจน ลิม ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก YMI
TRANSLATOR: เฮจี คิม
EDITOR: ธนากร พูลสินกูล

คุณเคยสงสัยบ้างไหมว่า คุณพลาดไปจากพระพรของพระเจ้าหรือไม่เติบโตพอในฐานะคริสเตียนเพียงเพราะว่าคุณไม่สัตย์ซื่อพอหรือเปล่า? หรือคุณรู้สึกว่าคุณก็ดำเนินชีวิตตาม “สิ่งที่ต้องทำ” อย่างระมัดระวังแล้ว แต่ยังติดอยู่ที่เดิม?

พวกเราทุกคนล้วนต้องต่อสู้อยู่กับความสัตย์ซื่อมาโดยตลอด แต่บางครั้งเราอาจจะพบกับความรู้สึกผิดต่อสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือรู้สึกผิดหวังเพราะว่าความคาดหวังในความสัตย์ซื่อของเรานั้น ไม่เกิดขึ้นจริงในชีวิตของเรา 

และนี่คือ 5 ความเชื่อผิดๆ ที่เรายังยึดถืออยู่กับความหมายที่แท้จริงของความสัตย์ซื่อ

1. ความสัตย์ซื่อ คือ การที่เราเข้าร่วมในคริสตจักรอย่างสม่ำเสมอ 

โดยทั่วไปเรามักจะวัดความสัตย์ซื่อจาก การไปเข้าร่วมนมัสการ หรือการเข้าเรียนชั้นพระคัมภีร์เป็นประจำ ซึ่งบางครั้งสิ่งนี้ทำให้เรารู้สึกผิดในเวลาที่เราพลาดการเข้าชั้นเรียน หรือการเข้าร่วมการประชุมเพราะว่าเราอาจติดงาน มีเหตุสำคัญ หรือรู้สึกไม่ค่อยสบาย

ในขณะที่พระเจ้าสั่งให้เรารักษาวันสะบาโต แต่นั่นไม่ได้ถูกตัดสินโดยการที่เราเข้าร่วมนมัสการในคริสตจักรอย่างสม่ำเสมอ (ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเราไม่ต้องไปคริสตจักรอีกต่อไป) เพราะในความเป็นจริงแล้ว เราทุกคนล้วนรู้ดีว่า เราอาจไปคริสตจักรทุกวันอาทิตย์ด้วยจิตใจที่เหม่อลอย กังวลเกี่ยวกับงาน การประชุม ตารางนัดหมาย แทนที่จะตั้งใจฟังคำเทศนา

และสิ่งที่มากไปกว่าเรื่องทางกายภาพ วันสะบาโต หมายถึงการพัก การอุทิศวัน เวลา เพื่อนมัสการพระเจ้าและพักสงบในการทรงสถิต (อ่าน มัทธิว 12:1-12) และความสัตย์ซื่อในบริบทนี้คือการเปลี่ยนแปลงหัวใจและความคิดของเราใหม่เพื่อรับและตอบสนองต่อพระคำพระเจ้า

เราสามารถพักผ่อนได้เพราะเราวางใจว่าพระเจ้าจะดูแลเรา และแม้แต่พระเจ้าเอง ผู้ซึ่งไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพ พระองค์ยังทรงเห็นว่าการพักผ่อนเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมหลังจากพระองค์สร้างโลก พระองค์จึงใช้เวลาหนึ่งวันในการพักผ่อนและเพลิดเพลินไปกับสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง (ปฐมกาล 2:2)

2. ความสัตย์ซื่อ ดูเหมือนการรับใช้บนเวทีที่มองเห็นได้

เรามักจะเห็นผู้นำคริสตจักรของเราไม่ว่าจะเป็น ศิษยาภิบาล ผู้ประกอบพิธี ผู้นำนมัสการ มัคนายก ปฏิคม หรือตำแหน่งอื่นๆ ดูสัตย์ซื่อมากกว่าเราเพราะว่าตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบของพวกเขาถูกวางไว้บนเวทีที่มองเห็นได้

แต่พระเจ้าไม่ได้วัดคุณค่าของความสัตย์ซื่อในอย่างนั้น หากลองนึกถึงคนที่พระเยซูเรียกให้มาเป็นสาวกของพระองค์ หรือคนที่อาจารย์เปาโลเขียนถึงในจดหมายของเขา ไม่ใช่ทุกคนที่มีชื่อโดดเด่นอย่าง ทิโมธี หรือ ทิตัส ซึ่งยังมีอีกหลายคนที่เราไม่เคยได้ยินบ่อยนัก แต่พวกเขาเหล่านั้นช่วยส่งจดหมายและสิ่งของที่จำเป็น อธิษฐานเผื่ออาจารย์เปาโลในขณะที่เขาอยู่ในคุก และให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น (ฟิลิปปี 2:25–30, โคโลสี 4:7-17)

ดังที่พระธรรมโคโลสี 3:23–24 กล่าวว่า “ ไม่ว่าคุณจะทำอะไรจงทำงานด้วยความเต็มใจเพื่อพระเจ้าไม่ใช่เพื่อมนุษย์… คุณกำลังรับใช้พระเจ้าคือพระคริสต์”

เราสามารถดำเนินชีวิตอย่างสัตย์ซื่อโดยการรับใช้ผู้อื่นทั้งภายในและภายนอกคริสตจักรราวกับว่าเรากำลังรับใช้พระองค์เอง

ดังนั้นถึงแม้ว่าเราไม่ได้รับใช้บนเวทีเหมือนอย่างผู้นำคริสตจักร เรายังคงสามารถแสดงออกถึงความสัตย์ซื่อของเราได้โดยการใช้เวลาเพื่อรับฟังความทุกข์ยากของเพื่อน ช่วยงานเพื่อนร่วมงานโดยไม่หวังผลตอบแทน หรือ ทำบางสิ่งที่ง่ายๆ อย่างเช่น การเก็บจานชามของเราให้เรียบร้อยหลังทานอาหารเสร็จที่ร้านอาหาร เพื่อให้งานของพนักงานทำความสะอาดนั้นง่ายขึ้น

3. ความสัตย์ซื่อ คือ “การตอบตกลง” ในทุกงานรับใช้

บ่อยครั้งเราอาจรู้สึกว่าถูกผลักดันให้รับใช้เพราะว่ามีเหตุจำเป็นชัดเจน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้อง “ตอบตกลง” ทุกครั้งเมื่อเราถูกถาม

แม้แต่พระเยซูเองก็ไม่ได้ใช้เวลาทั้งหมดเพื่อปรนนิบัติผู้คนอย่างกระตือรือร้น แต่มักจะปลีกตัวออกจากฝูงชนเพื่ออธิษฐาน (ลูกา 5:15-16)

การเป็นผู้อารักขาที่สัตย์ซื่อของพระคริสต์หมายถึงการยอมรับว่าเรามีขีดจำกัด และต้องจัดสรรเวลาของเราเพื่อพักผ่อน ให้เราลองฝึกแยกแยะว่าเราควรจัดสรรเวลาและทรัพยากรอย่างไร และตรวจสอบหัวใจของเราเพื่อดูแรงจูงใจความปรารถนาที่จะรับใช้

ยิ่งไปกว่านั้น อย่าลืมว่าพระเจ้าทรงวางเราไว้ในที่ที่เราสามารถรับใช้ผู้คนรอบตัวเรา ซึ่งรวมไปถึงครอบครัว เพื่อน และเพื่อนร่วมงานของเราด้วย ถ้าหากเราอาสาที่จะรับใช้ในคริสตจักรแต่ละเลยผู้คนรอบตัวในชีวิต เราก็เหมือนไม่สัตย์ซื่อต่อสิ่งที่เราได้รับมอบหมาย

4. ความสัตย์ซื่อหมายถึง เราจะมีชีวิตที่ได้รับ #การอวยพรตลอดเวลา 

เราอาศัยอยู่ในโลกที่ “มุ่งเน้นผลลัพธ์” ดังนั้นเราจึงมักวัดความพยายามของเราจากรางวัลที่ได้รับ และเมื่อไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้ เราก็จะตั้งคำถามเกี่ยวกับจุดประสงค์ของสิ่งที่เรากำลังทำอยู่

สิ่งเหล่านี้มักปรากฎขึ้นได้เมื่อจิตวิญญาณเราแห้งแล้ง เราที่อ่านพระคัมภีร์อย่างสัตย์ซื่อและอธิษฐานทุกวัน ทำทุกอย่างด้วยความรักและรับใช้ผู้อื่น แต่ชีวิตของเราดูเหมือนจะไม่เกิดผลใด หรือ ดูเหมือนจะไม่ได้รับ “การอวยพร” อย่างที่เราสมควรได้รับ

ไม่ว่าจะเป็นงานใหม่หรือได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ได้มีแฟน หรือชีวิตที่ได้รับการปกป้องจากความเจ็บปวดและปัญหา

ในช่วงเวลาเช่นนี้เมื่อเราอธิษฐานแล้วไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นนั่นจึงเป็นคำถามว่า “ฉันยังสัตย์ซื่อไม่พออีกหรือ?”

ในการปรับมุมมองของตัวเองใหม่ เราต้องกลับไปที่พระคำของพระเจ้าและระลึกถึงว่าเรากำลังทำอะไร หรือทำเพื่อใครอยู่ และรางวัลของเราอยู่ที่ใด (มัทธิว 16:26-27)

แม้แต่คำทำนายเกี่ยวกับพระเยซูก็ยังสอนให้เรารู้ถึงวิธีการคิดถึงรางวัล

“ข้าพเจ้าเหนื่อยเปล่า ข้าพเจ้าเปลืองแรงของตัวเองเสียเปล่าและอนิจจัง แต่แน่ละ สิ่งที่ควรเป็นของข้าพเจ้านั้นอยู่กับพระยาห์เวห์ และค่าตอบแทนของข้าพเจ้าอยู่กับพระเจ้าของข้าพเจ้า” (อิสยาห์ 49:4)

แม้ว่าเราอาจไม่ได้รับรางวัลสำหรับสิ่งดีทั้งหมดที่เราทำในชีวิตนี้ แต่เรามั่นใจได้ว่าไม่มีสิ่งใดที่เราทำไปโดยที่พระเจ้ามองไม่เห็น

5. ความสัตย์ซื่อ หมายถึง เราจะไม่ต้องต่อสู้กับความสงสัยและความผิดหวัง

เมื่อมีปัญหาเข้ามาถึงเรา เราอาจเริ่มสงสัยในความแสนดีของพระเจ้า เช่น (“ทำไมพระเจ้าถึงยอมให้สิ่งนี้เกิดขึ้น?”) หรือตั้งคำถามกับตัวเราเอง (“ฉันทำอะไรผิดหรือเปล่า?” หรือ “ที่ฉันทำไม่มากพอเหรอ?”) แต่ในทางกลับกันเมื่อเราได้ยินถึงปัญหาของคนอื่น บางครั้งอาจเป็นสัญชาตญาณในการตอบกลับโดยอัตโนมัติ เช่น “จงขอบพระคุณทุกกรณี” “อธิษฐานให้มากขึ้น” “วางใจในพระเจ้า” ฯลฯ โดยไม่ได้รับฟังปัญหาที่เขากำลังเผชิญอยู่และร่วมทางไปกับพวกเขา

แต่ในพระคัมภีร์เราเห็นผู้คนมากมายที่ต่อสู้กับความสงสัยและความผิดหวัง ไม่ว่าจะเป็น โยบ เอลียาห์ หรือเยเรมีย์ พวกเขาไม่ได้ดูเร่งรีบในกระบวนการ และไม่พยายามที่จะมองข้ามสิ่งที่พวกเขารู้สึก แต่ในตอนท้าย พวกเขายังคงเป็นผู้รับใช้พระเจ้าที่สัตย์ซื่อ เพราะว่าพวกเขาเลือกที่จะยอมจำนนและทำตามน้ำพระทัยพระเจ้า (ดูบทเพลงคร่ำครวญ 3:19-26)

ความสัตย์ซื่อไม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถที่จะเสียใจต่อปัญหา หรือต่อสู้กับความสงสัยไม่ได้ แต่ความสัตย์ซื่อหมายถึง ไม่ว่าสิ่งต่าง ๆ จะยากลำบากแค่ไหน เมื่อถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจอย่างเด็ดขาดแล้ว เรายังคงเลือกที่จะกลับไปหาพระเจ้า และบอกกับพระเจ้าว่า “พระเจ้า ลูกเชื่อในพระดำรัสของพระองค์ที่บอกว่าพระองค์เป็นผู้ใด และแม้ว่าลูกจะยังไม่เข้าใจ แต่ลูกจะเชื่อในพระองค์”

เส้นทางแห่งความเชื่อของเราไม่ได้ราบเรียบตรงไปตรงมาอย่างที่เราต้องการเสมอไป และบางครั้งเราจำเป็นต้องประเมินในสิ่งที่เรากำลังทำใหม่เพื่อดูว่าเราเดินมาถูกทางหรือไม่ แต่ดีที่เรามีพระคัมภีร์และพระวิญญาณบริสุทธิ์คอยนำทางเรา และมีคริสตจักรที่คอยช่วยเหลือเราในขณะที่เราดำเนินบนเส้นทางนี้ไปด้วยกัน

YOU MAY ALSO LIKE

ถ้าการเป็นคริสเตียนไม่ได้ช่วยอะไรฉันล่ะ?

ถ้าการเป็นคริสเตียนไม่ได้ช่วยอะไรฉันล่ะ?

WRITER: อัลวิน โธมัส ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก YMITRANSLATOR: ณัฐพร ชังเจริญEDITOR: ธัญธร จันทสุทธิบวร สวัสดีเพื่อนๆ ทุกคน ผมอยากจะเริ่มต้นโดยการบอกว่า ผมเข้าใจความรู้สึกของคุณนะ คงมีหลากหลายเหตุผลเลยทีเดียวที่ว่าการเป็นคริสเตียนอาจไม่ตอบโจทย์...

ทำไมผมถึงหยุดพยายามที่จะได้รับความรักจากพระเจ้า

ทำไมผมถึงหยุดพยายามที่จะได้รับความรักจากพระเจ้า

WRITER: รอส บูน ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก YMITRANSLATOR: ปาลีญา ธนาวัฒนเจริญEDITOR: เพียรทิพย์ อัศวโภคา มันเป็นเรื่องราวที่เริ่มต้นด้วยดี เธอชอบผมและผมก็ชอบเธอ เป็นช่วงเวลาดีๆ กว่าหนึ่งเดือนที่เรากอดและจับมือกันตลอดทุกวันเสาร์ แต่แล้วผมได้พูดบางอย่างที่ทำให้ทุกอย่างแย่ลง...

ฉันคิดว่าฉันจำเป็นต้องสวย

ฉันคิดว่าฉันจำเป็นต้องสวย

WRITER: แอคเนส ลี ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก YMITRANSLATOR: ศุภิสรา เจริญศรีศิลป์EDITOR: พาทินธิดา เจริญสวัสดิ์ ฉันและเพื่อนร่วมงานของฉันเห็นเพื่อนร่วมงานอีกคนหนึ่งกำลังเดินออกจากประตูออฟฟิศไปพร้อมกระเป๋าของเธอ ในขณะที่ทุกคนกำลังกินข้าวกลางวันกันที่โรงอาหาร...

Share This