fbpx
WRITER: แมดาไลน์ ทูว์นีย์ ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก YMI
TRANSLATOR: ศุภิสรา เจริญศรีศิลป์
EDITOR: พาทินธิดา เจริญสวัสดิ์

เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา เพื่อนร่วมงานชวนฉันและเพื่อนๆให้ไปนมัสการที่โบสถ์แอฟริกัน เมื่อเริ่มนมัสการ ฉันก็นั่งลงและคาดหวังว่ามันจะต้องเป็นการนมัสการสุดซึ้งเหมือนอย่างในโบสถ์ออสเตรเลียที่ฉันโตมาแน่ๆ

แต่พระเจ้า! ลูกคิดผิด! เมื่อวงนมัสการเล่นท่อนแรกเท่านั้นแหละ ที่ประชุมต่างก็พากันยกมือขึ้นและปรบมืออย่างสนุกสนานทั่วทั้งโบสถ์ ผู้คนต่างค่อยๆ ลุกขึ้นยืนและเริ่มเต้น บางคนถึงกับเล่นแทมโพลีนไปเต้นไปตามจังหวะเพลงนมัสการ

มันเป็นภาพที่มหัศจรรย์มาก และฉันรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับพละกำลังและความสนุกสนานที่โบสถ์แห่งนี้มีให้กับพระเจ้า แต่อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่แนวของฉันแน่ๆ ถึงแม้ฉันจะไม่รู้สึกถูกกดดันให้ต้องชูมือขึ้น แต่ฉันก็คิดภาพตัวเองกระโดดโลดเต้นนมัสการพระเจ้าไม่ออกเหมือนกัน มันดูจะไม่ใช่อะไรที่คนเงียบๆ และขี้อายอย่างฉันจะทำเลย

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ฉันย้ายเมืองและย้ายเข้าโบสถ์ใหม่ ฉันก็พบว่าตัวเองชูมือขึ้น ปรบมือ และเต้นขณะนมัสการพระเจ้า การกระทำเหล่านี้ทำให้ตัวฉันเองแปลกใจ ทั้งที่ก่อนหน้านั้นฉันไม่สามารถจินตนาการภาพตัวเองชูมือนมัสการพระเจ้าได้เลย อาจเป็นเพราะฉันย้ายเข้ามาอยู่ที่เมืองใหม่ โบสถ์ใหม่ ขณะที่สามีของฉันออกไปทำงานต่างรัฐ และฉันก็ไม่รู้จักใครเลยนอกจากพระเจ้า ดังนั้นฉันจึงติดสนิทกับพระองค์มากๆ และมันก็รู้สึกดีจริงๆ ที่จะชูมือสรรเสริญพระเจ้า! ฉันรู้สึกถึงอิสระที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน เพราะได้ค้นพบที่ๆ ตัวเองจะสามารถแสดงออกว่ารักพระเจ้าแค่ไหนผ่านท่าทางของฉันได้แล้ว

จากประสบการณ์นี้ทำให้ฉันนึกสงสัยขึ้นมาว่า วิธีในการนมัสการพระเจ้าสำคัญไหมนะ?” คนที่นั่งนมัสการข้างฉันไม่ได้รักพระเจ้าจริง แค่เพราะเขาไม่ร้องเพลงหรือชูมือนมัสการพระเจ้าเหรอ? เราทุกคนควรจะนมัสการด้วยวิธีเดียวกันแม้ว่าจะมีบางอย่างที่ไม่อยากทำจริงๆ เหรอ?

ในที่สุดฉันก็ได้คำตอบและนี่คือความจริง 4 ข้อที่ฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับการนมัสการ

1.การนมัสการนั้นเริ่มที่ใจ

บางครั้งคริสเตียนก็มัวแต่ถกเถียงกันเรื่องการชูมือนมัสการ ทั้งที่สิ่งสำคัญซึ่งควรพึงระลึกเสมอคือ การนมัสการเริ่มต้นจากความปรารถนาที่อยากจะสรรเสริญและถวายเกียรติแด่พระเจ้า

และสิ่งที่สำคัญที่สุดของการนมัสการคือทัศนคติในใจ!

สิ่งที่เปลี่ยนประสบการณ์การนมัสการของฉันคือการที่จิตใจของฉันเปลี่ยน เมื่อก่อนฉันมองว่าการนมัสการในโบสถ์เป็นเพียงการร้องเพลงและความสนุกสนาน เพราะตัวเองไม่เคยมีประสบการณ์ที่ลึกซึ้งกับพระเจ้าเลย จนกระทั่งปีที่แล้วฉันมีอาการซึมเศร้าและตกอยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ฉันก็เริ่มชูมือและกระโดดโลดเต้นเวลานมัสการพระเจ้า และเมื่อทำแบบนั้น ฉันก็รู้สึกว่าความเศร้าและความกังวลต่างๆ ได้ถูกยกออกไป เหมือนกับว่าทุกครั้งที่ชูมือขึ้น ฉันกำลังหยิบมอบปัญหาทั้งหลายให้พระเจ้ารับไปดูแล

นี่คือวิธีแสดงออกถึงความรักที่ฉันมีต่อพระเจ้า เราอาจมีวิธีสรรเสริญและแสดงความรักในแบบที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเมื่ออยู่ต่อหน้าพระเจ้าในการนมัสการพระองค์คือ “ทัศนคติในใจ

2. การนมัสการเป็นมากกว่าแค่การร้องเพลงและชูมือ

ถึงแม้ว่าการร้องเพลงจะเป็นส่วนหลักๆ ในการนมัสการ แต่ใจความสำคัญของการนมัสการก็คือ การถวายเกียรติแด่พระเจ้า กษัตริย์ดาวิดเขียนใน สดุดี 29:1-2 ว่า “บรรดาบุตรของพระเจ้าเอ๋ยจงถวายแด่พระยาห์เวห์เถิด จงถวายพระเกียรติและพระกำลังแด่พระยาห์เวห์ จงถวายพระเกียรติซึ่งควรแก่พระนามของพระองค์แด่พระยาห์เวห์ จงนมัสการพระยาห์เวห์ผู้ทรงงดงามในความบริสุทธิ์ การนมัสการเป็นการแสดงออกถึงความเคารพและการถวายเกียรติแด่พระเจ้า

คำว่านมัสการในพันธสัญญาเดิมใช้คำในภาษาฮีบรูว่าshachah” ซึ่งหมายความว่า ก้มกราบ หรือ หมอบลง และในพันธสัญญาใหม่ใช้คำในภาษากรีกว่า “proskuneo” ซึ่งหมายความว่า แสดงความเคารพ

สำหรับฉันแล้ว การแสดงความเคารพต่อพระเจ้าสามารถแสดงออกได้โดยการร้องเพลง ปรบมือ หรือชูมือขึ้นต่อพระองค์ รวมไปถึงการคุกเข่า อธิษฐานเบาๆ กับตัวเอง หรือแม้แต่ก้มศีรษะลงด้วยความเคารพ

โรม 12:1 ได้บอกพวกเราให้ ถวายตัวของท่านแด่พระองค์ เพื่อเป็นเครื่องบูชาอันบริสุทธิ์ที่มีชีวิตและเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า ซึ่งเป็นการนมัสการโดยวิญญาณจิตของท่าน

พระคัมภีร์ข้อนี้หนุนใจให้ฉันมองว่าการนมัสการไม่ใช่เพียงการกระทำที่แสดงออกด้วยท่าทางภายนอกเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการใช้ชีวิตทั้งชีวิตของเราด้วย

3. การนมัสการไม่ได้ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของเรา

ฉันเป็นคนชอบชูมือตอนนมัสการก็จริง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะรู้สึกอยากชูมือทุกๆ ครั้งที่นมัสการ บางครั้งฉันก็รู้สึกเหนื่อย หรือบางครั้งก็รู้สึกว่ามีปัญหามากมายทับถมอยู่

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการนมัสการจะสามารถปลดปล่อยความรู้สึกที่หนักหน่วงและกลายเป็นประสบการณ์ทางความรู้สึกที่ดีได้ แต่จุดประสงค์หลักของการนมัสการก็คือการดึงเราเข้าหาพระพักตร์ของพระเจ้าด้วยใจถ่อมและการขอบพระคุณ แม้ว่าใจของเราจะรู้สึกไม่อยากนมัสการ แต่เมื่อเราเลือกที่จะนมัสการ เราก็กำลังถวายเกียรติแด่พระเจ้าและแสดงออกให้พระองค์เห็นว่าเราเชื่อและวางใจในพระองค์มากกว่าความรู้สึกนึกคิดของเรา

4. การนมัสการด้วยจิตวิญญาณและความจริง

พระเยซูตรัสใน ยอห์น 4:24 ว่า พระเจ้าปรารถนาให้คนที่นมัสการพระองค์ นมัสการพระองค์ด้วยจิตวิญญาณและความจริง

แปลได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ พระเจ้าอยากจะให้เราทุกคนที่นมัสการพระองค์ได้รับการเต็มเติมจิตใจด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ ความรัก สันติสุข และความชื่นชมยินดีที่มาจากพระเจ้า ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลงนมัสการร่วมสมัยอย่างสนุกสนาน หรือร้องเพลงฮิมอย่างเงียบสงบ

และพระเจ้าก็อยากให้เราทั้งหลายเดินตามความจริงที่พระเยซูได้สั่งสอนบนโลกนี้ด้วยว่า พระเจ้าเป็นทางนั้น เป็นความจริง และเป็นชีวิต (ยอห์น 14:6) เราทั้งหลายไม่ได้เป็นไทผ่านการเฉลิมฉลองในการนมัสการ แต่เป็นไทโดยทางความจริงที่ว่าพระเยซูได้ไถ่เราทั้งหลาย(ยอห์น 8:36)

ฉันได้เรียนรู้ว่าการร้องเพลง ชูมือ และปรบมือในขณะนมัสการพระเจ้า หรือการยืนนิ่งๆ และร้องเพลง
ฮิมอย่างสงบ
ไม่ได้ทำให้เราดูโฮลี่หรือรักพระเจ้ามากกว่าพี่น้องในพระคริสต์คนอื่นๆ เลย

ทุกคนมีวิธีแสดงออกถึงการถวายเกียรติแด่พระเจ้าที่แตกต่างกันและพระเจ้าก็ได้รับเกียรติไม่ต่างกันในทุกรูปแบบ

ดังนั้น ในการนมัสการอาทิตย์หน้า ถ้าคุณเห็นพี่น้องของคุณชูมือขึ้นและร้องเพลงออกมาจากก้นบึ้งของหัวใจ แต่คุณไม่รู้สึกอินเหมือนเขา จงรู้ไว้ว่าพระเจ้าทรงมองดูหัวใจของคุณที่กำลังนมัสการ และนั่นคือสิ่งที่สำคัญที่สุด 🙂

YOU MAY ALSO LIKE

เราจะใช้ชีวิตกับพระเยซูแต่ไม่ไปโบสถ์ได้ไหม?

เราจะใช้ชีวิตกับพระเยซูแต่ไม่ไปโบสถ์ได้ไหม?

WRITER: โจนาธาน ฮายาชิ ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก YMI TRANSLATOR: ศุภิสรา เจริญศรีศิลป์ EDITOR: พาทินธิดา เจริญสวัสดิ์ “ผมรักพระเยซูแต่ไม่รักโบสถ์” นี่คือประโยคที่มีคนๆ หนึ่งบอกกับผมและมันทำให้ผมสับสนนิดหน่อย เขาพูดต่อว่า “ผมดูคำเทศนาออนไลน์ในห้องนั่งเล่นที่บ้านของผมได้ไหม?...

ฉันจะรับใช้พระเจ้าด้วยหัวใจที่ถูกต้องได้อย่างไร

ฉันจะรับใช้พระเจ้าด้วยหัวใจที่ถูกต้องได้อย่างไร

WRITER: คอนแสตน โก ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก YMI TRANSLATOR: ปาลีญา ธนาวัฒนเจริญ EDITOR: พาทินธิดา เจริญสวัสดิ์ ครั้งหนึ่ง ฉันเคยรับใช้รวมทั้งหมด 7 พันธกิจ และเข้าประชุมคริสตจักรทั้งหมด 5...

เราจะจัดการความคิดต่างบนเฟซบุ๊คได้อย่างไร

เราจะจัดการความคิดต่างบนเฟซบุ๊คได้อย่างไร

WRITER: จัสมิน แพทเทอสัน ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก YMI TRANSLATOR: นฤมล บางทราย EDITOR: ทิพย์สุพร ชาน ช่วงมหาวิทยาลัยฉันได้ช่วยเป็นผู้นำกลุ่มพันธกิจในมหาวิทยาลัยครั้งหนึ่งฉันทะเลาะกับผู้นำคนหนึ่งที่ทำงานร่วมกัน อย่างไรก็ดีฉันจบลงด้วยความใจร้อนและตะคอกเธอไป...

Share This