WRITER: จัสมิน แพทเทอสัน ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก YMI
TRANSLATOR: นฤมล บางทราย
EDITOR: ทิพย์สุพร ชาน
ช่วงมหาวิทยาลัยฉันได้ช่วยเป็นผู้นำกลุ่มพันธกิจในมหาวิทยาลัยครั้งหนึ่งฉันทะเลาะกับผู้นำคนหนึ่งที่ทำงานร่วมกัน อย่างไรก็ดีฉันจบลงด้วยความใจร้อนและตะคอกเธอไป
ระหว่างนั้นคนอื่นๆในทีมและนักเรียนอีกหลายคนอยู่ในห้องกำลังจับจ้องอยู่(ใช่…มันไม่ดีเลยฉันรู้ฉันเสียใจแต่เราก็ผ่านมันไปได้เรายังเป็นเพื่อนกันจนถึงทุกวันนี้)
ฉันสงสัยว่านักเรียนคนอื่นๆจะคิดยังไงบ้าง? พวกเขาคงจะรู้สึกอึดอัดมากที่เห็นคนสองคนทะเลาะกันในที่สาธารณะเขาต้องคิดอะไรสักอย่างแน่ๆ และเรากำลังเป็นแบบอย่างอะไรให้แก่พวกเขา?
ฉันกลับมาถึงนึกเรื่องนี้บางครั้ง เมื่อฉันกำลังสังเกตว่าคริสเตียนควรจะทำตัวอย่างไรบนโลกออนไลน์
ในวัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยสังคมออนไลน์เราสูญเสียศักยภาพที่จะโต้แย้งอย่างสุภาพเราสูญเสียศักยภาพที่จะยอมรับความเห็นที่แตกต่างสังคมส่วนใหญ่คิดว่าการที่เราไม่เห็นด้วยกับใครบางคนเท่ากับว่าเราต้องโจมตีเขาด้วยคำพูดหรืออารมณ์ที่รุนแรงเราในฐานะผู้ติดตามพระเยซูเราไม่ควรตกหลุมพรางนี้
สังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือที่น่าเหลือเชื่อในการเชื่อมต่อผู้คนซึ่งฉันรู้สึกชออบมาก และเชื่อว่าคุณก็อาจจะชอบด้วยเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ช่วยฉันให้เชื่อใต่อกับเพื่อนๆวงดนตรีที่ชอบและเนื้อหาที่เสริมสร้างฉันขึ้นในความเชื่อการที่เราใช้สื่อโซเชียลต่างๆนี้ก็มาพร้อมกับความรับผิดชอบในการมีส่วนร่วมกับผู้อื่นด้วยการให้เกียรติและเป็นตัวแทนที่ดีของพระเยซู
ในโลกออนไลน์ การโต้เถียงกันระหว่างผู้นำพันธกิจอาจถูกจับจ้องมากกว่าแค่ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จริงเราอาจจะเป็นให้แบบอย่างไปให้กับคนทั้งโลกได้เห็น และสิ่งเหล่านี้จะทำให้เขาสรุปเกี่ยวกับตัวเราว่าอย่างไรหรือเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดของเราอย่างไร?ช่างเป็นการเดิมพันที่สูงจริงๆ
เราจะแสดงออกถึงการเป็นคริสเตียนและการเป็นพยานชีวิตในโลกออนไลน์อย่างไร และมากกว่าไปกว่านั้นหากเรามีความเห็นที่ต่างออกไป? นี่เป็นกฎในการมีส่วนร่วมที่อาจจะช่วยเราได้
1.ให้ความสำคัญกับคนที่คุณพูดด้วย
ทุกๆคนที่เราพูดคุยด้วยหรือกล่าวถึงนั้นล้วนเป็นคนที่พระเจ้าสร้างขึ้นตามพระฉายาของพระองค์ เป็นคนที่พระองค์รัก และให้คุณค่าอย่างมากจนยอมส่งพระบุตรองค์เดียวของพระองค์มาตายเพื่อพวกเขา เพื่อจะรื้อฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับเขาขึ้นใหม่
ถ้าใครกล่าวว่า“ข้าพเจ้ารักพระเจ้า” แต่ใจยังเกลียดชังพี่น้องของตนเขาเป็นคนพูดมุสาเพราะว่าผู้ที่ไม่รักพี่น้องของตนที่มองเห็นแล้วจะรักพระเจ้าที่มองไม่เห็นไม่ได้(1 ยอห์น 4:20)
เมื่อเราคุยกับคนอื่นบนโลกออนไลน์ เราได้ให้คุณค่าพวกเขาเหมือนกับที่พระเจ้าให้หรือไม่?พระเจ้าจะรู้สึกอย่างไรถ้าพระองค์เห็นวิธีที่เราพูดคุยกับคนอื่นๆซึ่งเป็ลูกที่พระองค์ทรงรัก?(พระองค์เห็นนะ)
ในบางครั้งการอยู่หลังคีบอร์ดมันให้ความกล้ากับเราในการพูดสิ่งที่เราจะไม่มีวันพูดต่อหน้าบุคคลคนนั้น ก่อนที่เราจะโพสต์อะไรให้เราลองถามตัวเองว่า เราจะพูดแบบเดียวกันกับเวลาที่เจอหน้าคนๆนั้นไหม
เมื่อเราคุยกับคนอื่นบนโลกออนไลน์ เราได้ให้คุณค่าพวกเขาเหมือนกับที่พระเจ้าให้หรือไม่?พระเจ้าจะรู้สึกอย่างไรถ้าพระองค์เห็นวิธีที่เราพูดคุยกับคนอื่นๆซึ่งเป็ลูกที่พระองค์ทรงรัก?(พระองค์เห็นนะ)
ในบางครั้งการอยู่หลังคีบอร์ดมันให้ความกล้ากับเราในการพูดสิ่งที่เราจะไม่มีวันพูดต่อหน้าบุคคลคนนั้น ก่อนที่เราจะโพสต์อะไรให้เราลองถามตัวเองว่า เราจะพูดแบบเดียวกันกับเวลาที่เจอหน้าคนๆนั้นไหม เราจะทำเป็นใช้ชื่ออื่นๆแทนไหม? เราจะดูถูกมุมมองของพวกเขาไหม? เราจะใช้น้ำเสียงต่อว่าเขาไหม?
จำไว้ว่า:
วิธีที่เราปฏิบัติต่อผู้อื่นเป็นการแสดงถึความรักของเราที่มีต่อพระเจ้า พระเจ้าสามารถสำแดงความรักของพระองค์ต่อผู้อื่นผ่านการที่เราปฏิบัติต่อพวกเขา
การพูดคุยที่ดีกับผู้อื่นในโลกออนไลน์เป็นการนมัสการพระเจ้าอีกทางหนึ่ง และยังเป็นคำพยานที่มีพลังต่อผู้คนเช่นกัน
2.ฟังก่อนแล้วค่อยพูด
ฉันสังเกตเห็นและคุณอาจจะเห็นเหมือนกันเมื่อผู้คนทีประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่าง หรือมุมมองที่ต่างจากผู้อื่น พวกเขาจะเริ่มต้นบทสนทนาด้วยการแก้ต่างจากมุมมองของตนเอง พวกเขาอาจจะทำลายความคิดเห็นและประสบการณ์ของผู้อื่นก่อนที่จะได้ฟังพวกเขาพูดออกมาด้วยซ้ำ เราเห็นหลายต่อหลายครั้งเมื่อคนพูดเรื่องการเหยียดสีผิว การเมือง ศาสนา และหัวข้ออื่นๆอีกมากมาย พระคำของพระเจ้าได้เรียกผู้ที่ติดตามพระองค์ให้มีมุมมองที่แตกต่างออกไปอย่างชิ้นเชิง
พี่น้องที่รักของข้าพเจ้าจงเข้าใจในเรื่องนี้คือให้ทุกคนไวในการฟังช้าในการพูดช้าในการโกรธ เพราะว่าความโกรธของมนุษย์ไม่ก่อให้เกิดความชอบธรรมของพระเจ้า(ยากอบ 1:19-20)
ฟังก่อนแล้วค่อยพูดฟังสิ่งที่พวกเขาพูดออกมากเชื่อในส่วนดีของพวกเขา ฟังเพื่อเรียนรู้และเข้าใจไม่ใช่ฟังเพียงแค่จะตอบโต้ แต่ฟังโดยไม่ขัดขังหวะเขา
ในวัฒนธรรมของเราเรามีแนวโน้มที่จะตัดสินว่าคนที่เรากำลังคุยด้วยนั้นไม่ควรค่าพอที่จะมีส่วนร่วม แม้กระทั่งก่อนที่เราจะได้ยินเรื่องราวของพวกเขาเรากระตือรือร้นที่จะแสดงความเห็นของเราโดยที่เราไม่สนใจพวกเขาในจิตใต้สำนึกคิดว่าอะไรที่เราจะพูดสำคัญมากกว่าว่าสิ่งที่พวกเขาพูดอย่าให้เราใช้ชีวิตตามมาตตรฐานของวัฒนธรรม แต่ให้เราใช้ชีวิตตามมาตรฐานของพระคัมภีร์
เมื่อฉันเขียนคอมเม้นต์ในออนไลน์ เมื่อฉันตอบพวกเขาฉันมักจะเอ่ยเชื่อของพวกเขาด้วย ฉันจะเริ่มด้วยกันเขียนแสดงความชื่นชมในสิ่งที่พวกเขาพูดแล้วฉันรู้สึกเห็นด้วย หรือทำท้าทายความคิดของฉัน แม้ว่าฉันอาจจะเขียนคอมเม้นต์แสดงความไม่เห็นด้วยในตอนท้าย การที่เราเริ่มด้วยการชื่นชมคนที่มาคอมเม้นต์นั้นแสดงถึงความเมตตา ความถ่อมใจ และนั้นแสดงให้เห็นว่าเราได้อ่านและให้ความสำคัญกับคอมเม้นต์ของพวกเขาจริงๆ
เราสามารถหลีกเลี่ยงความโกรธได้มากขึ้นในสังคมของเราในบทสนาของเราและบนโลกโซเชียลถ้าเพียงเราเรียนรู้ที่จะ
ไวที่จะฟังช้าที่จะพูด
ฉันเชื่อว่าพระเจ้าสามารถใช้เราที่จะนำการรักษาและสันติสุข ถ้าเราเรียนรู้ที่จะถ่อมใจของพวกเราลงให้เกียรติเพื่อนบ้านของเราฟังก่อนแล้วค่อยพูด
3.เสริมสร้างขึ้นไม่ใช่ทำลายลง
อย่าให้คำเลวร้ายออกจากปากของท่านทั้งหลายแต่จงกล่าวคำดีๆที่เสริมสร้างและที่เหมาะกับความต้องการเพื่อจะได้เป็นคุณแก่คนที่ได้ยิน(เอเฟซัส 4:29)
ก่อนที่เราจะโพสต์คอมเมนต์ ทวิตข้อความหรือตั้งสเตตัสเราลองถามตัวเองว่า สิ่งที่เรากำลังจะพูดนั้นมีประโยชน์และเสริมสร้างผู้อื่นไหม? ฉันกำลังพูดในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไหม?
บางครั้งฉันได้รับคอมเมนต์ต่อว่าในโพสต์ที่ฉันเขียน ฉันเรียนรู้ที่จะพูดด้วยพระคุณแทนที่จะเติมเชื้อเพลิงใส่ไฟแห่งความโกรธและการเป็นศัตรูกัน เมื่อมีคนคอมเมนต์ด้วยการเสียดสีหรือความโกรธ ให้ลองเพิกเฉยถ้าบทสนทนานั้นไม่ได้มีประโยชน์อะไร หรือลองตอบด้วยท่าทีที่ตรงกันข้ามคือตอบด้วยความเมตตา ถ้าเราหยุดใส่ฟืนบนไฟก็จะไม่มีอะไรจะเผาต่อไปได้
พร้อมกับเรียนรู้ที่จะจบบทสนทนาอย่างงดงามในบางครั้งบทสนทนาของเราอาจจจะถึงจุดจบในบริบทนั้นๆ ในกรณีนี้เราควรย้ายบนสนทนาเหล่านั้นไปในช่องทางที่ส่วนตัวมากขึ้น เช่น อินบอกซ์ หรือการสนทนาแบบตัวต่อตัว หรือการเดินออกจากการสนทนานั้นด้วยความเคารพ
เป็นไปได้ที่บนโลกโซเชียลที่เราจะมีส่วนร่วมนั้นจะมี บทสนทนาที่มีความหมายรักษาลักษณะของคริสเตียนและการเป็นพยานมาเริ่มเป็นแบบอย่างแก่คนอื่นทางสื่อออนไลน์กันเถอะฉันเริ่มแล้วนะแล้วคุณล่ะ?
YOU MAY ALSO LIKE
ถึงหนุ่มๆ คริสเตียนทุกคนที่ยังโสดอยู่
WRITER: เจฟฟรี่ เซียว ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก YMI TRANSLATOR: สรสิทธิ์ ธัมมารักขิตานนท์ EDITOR: ธัญธร จันทสุทธิบวร การอยู่เป็นโสดไม่ใช่เรื่องผิด ใช่ คุณอ่านถูกแล้ว มันไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรถ้าหากคุณยังไม่แต่งงานหรือผูกพันธ์กับใคร หรือยังไม่เคยคบหาดูใจกับใครเลย...
เหตุผล 3 ประการว่าทำไมการเป็นคริสเตียนถึงดีจริงๆ
WRITER: แดเนียล ไรอัน เดย์ ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก YMI TRANSLATOR: ณัฐพร ชังเจริญ EDITOR: Mustard Seed Team แดเนียลแต่งงานกับคนรักที่คบกันมาตั้งแต่สมัยมัธยมปลายและเป็นคุณพ่อลูกสาม เขาเป็นผู้เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า แล้วอะไรต่อ: งานในฝันของคุณ การทรงเรียกของพระเจ้า...
3 เคล็ดลับในการฟื้นฟูช่วงเวลาเฝ้าเดี่ยวของเรา
WRITER: เดบร้า อาย์อิส ต้นฉบับภาษาอังกฤษจาก YMI TRANSLATOR: เฮจี คิม EDITOR: สวิตตา เจริญศรีศิลป์ พระคัมภีร์กล่าวไว้ว่า มนุษย์ไม่ได้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหารเพียงสิ่งเดียว แต่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยทุกสิ่งที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระยาห์เวห์ (เฉลยธรรมบัญญัติ 8:3, มัทธิว 4:4)...